กระเจี๊ยบแดง

 




ชื่อวิทยาศาสตร์           Hibiscus sabdariffa L.

วงศ์                        Malvaceae

ชื่อพ้อง                    -

ชื่ออื่นๆ                   กระเจี๊ยบเปรี้ยว  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง  ส้มปู  ส้มพอเหมาะ  

Jamaica Sorrel, Roselle of Rama

สารออกฤทธิ์            ไม่มีรายงานการวิจัย

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง

            1.  ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง

         เมื่อฉีดสารสกัดดอกด้วยเมทานอล เข้าทางช่องท้องของหนูขาวทั้ง 2 เพศ พบว่าขนาดที่มีผลทำให้รักษาอาการอุจจาระร่วงได้ครึ่งหนึ่ง (ED50) มีค่าเท่ากับ 350 ไมโครโมล/ตัว (1)

            2.  ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

         สารสกัดกลีบดอกกระเจี๊ยบด้วยน้ำ ความเข้มข้น 0.4 มก./มล. ทดสอบในกล้ามเนื้อตรงส่วนทวารหนัก (Rectus abdominus) ของกบที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีการหดตัวด้วย acetylcholine พบว่าสามารถต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนทวารหนักได้ โดยทำการเปรียบเทียบกับยา tubocurarine (2) และสารสกัดชนิดเดียวกัน ความเข้มข้น 2% ทำการทดสอบกับลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของกระต่าย พบว่ามีผลทำให้ลำไส้เล็กคลายตัวได้ (3) นอกจากนี้สารสกัดด้วยเมทานอลเมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูขาวทั้ง 2 เพศ พบว่าความเข้มข้นที่มีผลทำให้ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาวเคลื่อนไหวน้อยลงครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 250 ไมโครโมล  ในขณะที่ความเข้มข้นที่มีผลยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 350 ไมโครโมล (1) และสารสกัดดอกกระเจี๊ยบด้วยเอทิลอะซิเตด เมื่อทำการทดสอบกับลำไส้ส่วนปลาย (ileum) ของหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งด้วยกระแสไฟฟ้า พบว่าความเข้มข้นที่มีผลยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 412.5 ไมโครโมล (4)

            3.  ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดดอกกระเจี๊ยบด้วยเอทานอลทำการทดลองในจานเพาะเลี้ยงเชื้อพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิด Escherichia coli, Proteus vulgaris, Samonella spp., Staphylococcus aureus ซึ่งค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง (MIC50) มีค่าเท่ากับ 1 มก./มล. (5) และน้ำมันจากเมล็ดกระเจี๊ยบ ทำการทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis, S. albus แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ P. vulgaris (6) และเมื่อนำสารสกัดน้ำของกลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบมาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง 8 ชนิด ด้วยวิธี Agar disc diffusion โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 5 มก./แผ่น พบว่ากระเจี๊ยบสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงได้ดี จึงนำสารสกัดเดิมมาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงที่แยกได้จากคนไข้ 8 ชนิด จำนวน 57 สายพันธุ์ พบว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง (MIC50) อยู่ในช่วงน้อยกว่า 1.06 จนถึง 50 มก./มล. (7)

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

1. การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อป้อนสารสกัดกลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบด้วยน้ำให้กับกระต่าย ทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 129.1 ./กก. (8) และสารสกัดชนิดเดียวกัน เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักร และหนูขาว ในขนาด 4 มก./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษต่อหนู (7) เมื่อป้อนชาชงกลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบให้กับหนูขาว พบว่าขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 5./กก. (9)  และเมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากดอกเข้าช่องท้องหนูถีบจักรทั้งสองเพศ มีค่า LD50 มากกว่า 5,000 มก./กก. (10)

2. พิษต่อเซลล์

สารสกัดน้ำ ไดคลอโรมีเทน และเอทานอลของกระเจี๊ยบแดง เมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษด้วยวิธี brine shrimp bioassays พบว่า LD50 มีค่าเท่ากับ 9.59, 24.51 และ 4.75 มคก./มล. ตามลำดับ (11) สารสกัดดอกกระเจี๊ยบด้วย 70% อัลกอฮอล์ เมื่อทำการทดสอบต่อเซลล์มะเร็งที่ช่องท้อง (CA-Ehrlich-Ascites) พบว่ามีพิษต่อเซลล์มะเร็ง (12)  สาร protocatechuic acid (PCA) จากดอกกระเจี๊ยบ จะยับยั้งเซลล์ human promyelocytic leukemia HL-60 โดยในขนาด 2 มิลลิโมล จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ internucleosomal DNA fragmentation และเซลล์ตาย หลังจาก 9 ชม.ที่ได้รับสาร PCA  (13)  ส่วนสารสกัดดอกกระเจี๊ยบด้วยน้ำ ความเข้มข้น 10% พบว่ามีพิษต่อเซลล์ Hela อย่างอ่อน (14) สารสกัดดอกกระเจี๊ยบด้วย 95% เอทานอล ความเข้มข้น 250 มคก./มล. ไม่มีพิษต่อเซลล์ Hela (15)  ยาต้มจากกระเจี๊ยบ  (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ความเข้มข้น 2,000 มคก./มล. ให้ผลเป็นพิษต่อเซลล์ HEPG2/C3A, PLC/PRF/5, HA22T/VGH, CA-SK-HEP-1 และ hepatoma cell line HEP3B ไม่ชัดเจน (16)

3.  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

สารสกัดผลกระเจี๊ยบด้วยความเข้มข้น 50 มคก./จานเพาะเลี้ยงเชื้อ (17)  และน้ำมันจากเมล็ด (18) ทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 แต่สารสกัดกลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบด้วยน้ำ ทำการทดลองในจานเพาะเลี้ยงเชื้อในความเข้มข้น 1-5 มก./จานเพาะเชื้อ (19) และสารสกัดดอกกระเจี๊ยบ (20) พบว่าไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 และเมื่อนำสารสกัดกลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบด้วยเอทานอล 80% (100 ./.) ซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็งมาทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (ขนาด 25 มก./จานเพาะเชื้อ) และทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ (ขนาด 12.5 มก./จานเพาะเชื้อ) พบว่าสารสกัดกลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ แต่ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 (21) และชาชงใบกระเจี๊ยบ ความเข้มข้น 100 มคล./แผ่น ทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อกับเชื้อ S. typhimurium TA98, TA 100 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ด้วย ethylmethane sulfonate และ 2-amino-anthracene ตามลำดับ พบว่าสามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 ได้ (22)

            4. กดระบบประสาทส่วนกลาง

          เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากดอกเข้าช่องท้องหนูถีบจักรทั้งสองเพศ ขนาด 100 มก./กก. จะกดระบบประสาทส่วนกลาง (10)

            5. พิษต่อตับ

          ส่วนสกัดน้ำที่ได้จากสารสกัดอัลกอฮอล์:น้ำจากดอกกระเจี๊ยบ ป้อนให้หนูขาว (Wistar albino rat) 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับส่วนสกัด กลุ่มที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 ได้รับส่วนสกัดจำนวน 1, 3, 5, 10 และ 15 ครั้ง ครั้งละ 250 มก./กก. ตามลำดับ พบว่าหนูทุกกลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดจะมีค่า aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase สูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อระดับของ alkaline phosphatase และ lactate dehydrogenase  หนูที่ได้รับส่วนสกัด 15 ครั้ง จะมีระดับอัลบูมินในเลือดสูงขึ้น ลักษณะเนื้อเยื่อของตับและหัวใจในหนูทุกกลุ่มไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในการกินส่วนสกัดนี้ในขนาดสูงและในระยะเวลานาน อาจทำให้เป็นพิษต่อตับได้ (23)

         

          จะเห็นได้ว่ากระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ และยังฆ่าแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย แต่ควรมีการทดลองทางคลินิกเพื่อหาขนาดที่เหมาะสมและฤทธิ์ข้างเคียงก่อน

 

เอกสารอ้างอิง

1.       Salah AM, Gathumbi J, Vierling W.  Inhibition of intestinal motility by methanol extracts of Hibiscus sabdariffa L.  (Malvaceae) in rats.  Phytother Res 2002;16(3):283-5.

2.       Ali MB, Salih WM, Mohamed AH, Homeida AM.  Investigation of the antispasmodic potential of Hibiscus sabdariffa  calyces.  J Ethnopharmacol 1991;31:249-57.

3.       Ali MB, Mohamed AH, Salih WM, Homeida AM.  Effect on an aqueous extract of Hibiscus sabdariffa calyces on  the  gastrointestinal tract.  Fitoterapia 1991;62(6):475-9.

4.       Salam M, Bongmo B, Kamany A, Vierling W, Wagner H.  Possible involvement of the extracts of Hibiscus  sabdariffa L. (Malvaceae) in calcium channel mediated smooth and papillary muscles relaxant properties.   Phytomedicine 2000;7(2):127.

5.       Adoum OA, Dabo NT, Fatope MO.  Bioactivities of some Savanna plants in the brine-shrimp lethality test and in  vitro antimicrobial assay.  Int J Pharmacog 1997;35(5):334-7.

6.       Gangrade H, Mishra SH, Kaushal R.  Antimicrobial activity of the oil and unsaponifiable matter of red roselle.   Indian Drugs 1979;16:147-8.

7.       พงษ์จักร บูรณินทุ  ธวัชชัย  ค้าสุคนธ์  มาลิน  จุลศิริ.  การต้านเชื้อแบคทีเรียโรคอุจจาระร่วงของสารสกัดน้ำของสมุนไพรที่นำมา ปรุงเป็นเครื่องดื่ม.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534

8.       Zhung YL, Yeh JR, Lin DJ, Yuan JC, Zhou RL, Wang PQ.  Antihypertensive effect of Hibiscus sabdariffa.  Yao  Hsueh T’ung Pao 1981;16(5):60C.

9.       Onyenekwe PC, Ajani EO, Ameh DA, Gamaniel KS.  Antihypertensive effect of roselle (Hibiscus sabdariffa) calyx  infusion in spontaneously hypertensive rats and a comparison of its toxicity with that in Wistar rats.  Cell Biochem  Funct 1999;17(3):199-206.

10.    Amos S, Binda L. Chindo BA, Tseja A, Odutola AA, Wanbebe C, Gamaniel K.  Neuropharmacological effects of Hibiscus sabdariffa aqueous extracts.  Pharmaceutical Biol 2003;41(5):325-9.

11.    Serrano C, Ortega T, Villar AM.  Biological activity of traditional medicines from Spain and Guatemala.  Artemia salina Bioassay: a revision.  Phytother Res 1996;10:S118-20.

12.    El-Merzabani MM, El-Aaser AA, Attia MA, El-Duweini AK, Ghazal AM.  Screening system for Egyptian plants with potential anti-tumor activity.  Planta Med 1979;36:150-5.

13.    Tseng TH, Kao TW, Chu CY, Chou FP, Lin WL, Wang CJ.  Induction of apoptosis by Hibiscus protocatechuic acid in human leukemia cells via reduction of retinoblastoma (RB) phosphorylation and Bcl-2 expression.  Biochem Pharmacol 2000;60(3):307-15.

14.    May G, Willuhn G.  Antiviral activity of aqueous extracts from medicinal plants in tissue cultures.  Arzneim-Forsch 1978;28(1):1-7.

15.    Abad MJ, Bermejo P, Villar A, Palomino SS, Carrasco L.  Antiviral activity of medicinal plant extracts.  Phytother Res 1997;11(3):198-202.

16.    Lin LT, Liu LT, Chiang LC, Lin CC.  In vitro antihepatoma activity of fifteen natural medicines from Canada.  Phytother Res 2002;16(5);440-4.

17.    Takeda N, Yasui Y.  Identification of mutagenic substances in roselle color, elderberry color and safflower yellow.  Agr Biol Chem 1985;49(6):1851-2.

18.    Polasa K, Rukmini C.  Mutagenicity tests of cashewnut shell liquid, rice-bran oil and other vegetable oils using the Salmonella typhimurium/microsome system.  Food Chem Toxicol 1987;25(10):763-6.

19.    Duh PD, Yeh GC.  Antioxidative activity of three herbal water extracts.  Food Chem 1997;60(4):639-45.

20.    Changbumrung S, Limveeraprajak E, Rojanapo W, et al.  Mutagenicity and clastogenicity tests of natural food colouring agents is commonly used in Thailand.  Annual Research Abstracts and Bibliography of Non-formal Publications, Mahidol Univ 1997, 1998;25:420.

21.    Chewonarin T, Kinouchi T, Kataoka K, et al.  Effects of Roselle (Hibiscus sabdariffa Linn.) a Thai medicinal plant, on the mutagenicity of various known mutagens in Salmonella typhimurium and on formation of aberrant crypt foci induced by the colon carcinogens azoxymethane and 2-amino-1-methyl-6-phenylimidazo[4,5-b]pyridine in F344 Rats.  Food Chem Toxicol 1999;37:591-601.

22.    Badria FA.  Is man helpless against cancer?  An environmental approach: antimutagenic agents from Egyptian food and medicinal preparations.  Cancer Lett 1994;84(1):1-5.

23.    Akindahunsi AA, Olaleye MT.  Toxicological investigation of aqueous-methanolic extract of the calyces of Hibiscus sabdariffa L.  J Ethnopharmacol 2003;89(1):161-4.